ประวัติคณะอุร์สุลิน
- หมวด: เกี่ยวกับเรา
- อัพเดทล่าสุดเมือ: วันอังคาร, 17 มีนาคม 2563 13:08
- ฮิต: 24580
ในปี พ.ศ.2472 ประมุขแห่งมิซซังคาทอลิกในประเทศไทย ได้มีหนังสือไปร้องขอเจ้าคณะชีอุร์สุลินที่กรุงโรมได้จัดนำคณะนางชี ไปตั้งโรงเรียนที่เชียงใหม่ขณะนั้นคณะชีอุร์สุลิน มีโรงเรียนที่เป็นปึกแผ่นอยู่แล้วที่ กรุงเทพฯ คือ โรงเรียนมาแตร์เดอี อธิการเจ้า คณะ จึงมอบให้อธิการโรงเรียนมาแตร์เดอี ให้ดำเนินการนี้ ตามความประสงค์ของประมุขแห่งมิซซังคาทอลิก อธิการโรงเรียนมาแตร์ เดอี จึงมาสำรวจ ที่เชียงใหม่เห็น ว่าพอจะก่อสร้างเป็นโรงเรียนได้ จึงได้ตกลงให้บริษัทยูไนเตรดเอนจิเนียริ่งทำแผนผังก่อสร้างเป็น โรงเรียนได้ฉัน้เงินมาสร้าง ตึกที่สร้างยาว 86 เมตร กว้าง 9 เมตร เป็นรูปตัว L มีห้องเรียน ห้องนอนนักเรียนประจำ ห้องอาหาร ห้องน้ำและห้องประชุม เริ่มก่อสร้างต้นปี พ.ศ.2474 การ ก่อสร้าง เสร็จเรียบร้อย ในต้นปี พ.ศ.2475 ขณะที่ ดำเนินการก่อสร้าง นั้นทางโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัยจัดหาและสร้างเครื่อง อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อเตรียมขนขึ้นมาเชียงใหม่ เมื่อการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยอธิการและนางชีอีก 4 รูป ซึ่งมีสัญชาติเป็น ฝรั่งเศส อเมริกัน และ เบลเยี่ยม พร้อมกับ เจ้าอาวาส และครูฆราวาสขึ้นมาที่เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2475ได้เริ่มจัดห้องต่างๆให้เหมาะสมที่จะใช้เป็นสถาน ศึกษา xlbid.net MOST POPULAR PRODUCTS HIGHEST RATED PRODUCTS NEW PRODUCTS เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2475 กระทรวงศึกษาธิการให้เปิดทำการสอนใช้นามว่า“เรยีนาเชลีวิทยาลัย” เปิดวันแรกมีนักเรียน 95 คน เป็นนักเรียนตั้งแต่ชั้น อนุบาล ถึง มัธยมปีที่ 7 มีครู 13 คน หลังจากนั้น มีผู้ปกครอง นำเด็กมาฝากเรื่อยๆทำให้นักเรียน เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ปีต่อมาได้รับอนุญาตให้เปิดมัธยม ปีที่ 8 จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั้งเกิด สงคราม โลก ครั้งที่ 2 ก็ยังทำการสอนอยู่ ครั้นสงครามรุกรานเข้ามามีภัยทางอากาศถึงจังหวัดเชียงใหม่ ทางการจึงได้สั่งให้โรงเรียนปิดและใชั สถาน ที่โรงเรียนเป็นโรงพยาบาลทหาร ช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บในยาม สงครามเป็นเวลาปีครึ่ง เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ทางการ สั่งให้โรงเรียนเปิดทำการสอนตามปกติ นักเรียนที่ อพยพหลบภัยต่างก็พากันกลับมายังบ้านเรือนของตน นักเรียน มาสมัครเข้าเรียนล้นหลามไม่มีที่พอจะรับ ได้ทุกคนจึง ขยายห้องต่างๆ เพิ่มขึ้น ในปี พ.ศ.2489 กระทรวงศึกษาธิการจึงได้รับรองวิทยฐานะของโรงเรียนจำนวน นักเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จำเป็นต้อง ขยายโรงเรียนจึงซื้อที่ดิน 13 ไร่แลกกับที่ของกรมป่าไม้และทางการเห็นความจำเป็นจึงให้การสนับสนุนเป็นธุระ เจรจาแทนโรงเรียนบริเวณโรงเรียน มีอาคารเดิม8 ไร่เศษ ปัจจุบันโรงเรียน มี อาคาร 16 ไร่เศษ มีพื้นที่ ทั้งหมด 33 ไร่เศษ แบ่งขายให้สมาคมผู้บำเพ็ญ ประโยชน์ 4 ไร่ คงเหลือ 29 ไร่ 2 งาน 26 ตาราง วา โรงเรียนได้ปรับปรุง อาคารประกอบ ต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการเรียนการสอน ปัจจุบัน มีการตกแต่งบริเวณโรงเรียนให้มีทัศนียภาพ ที่สวยงาม สะอาดเรียบร้อยอยู่เสมอ มี การปรับปรุงถนนภายในบริเวณโรงเรียนเพื่อความสะดวกของ ผู้ปกครองในการรับส่งบุตรหลาน เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2528 ได้ก่อตั้งชมรมผู้ปกครองและครู เพื่อให้เกิดความร่วมมืออันดีระหว่างผู้ปกครองและโรงเรียนอีกทั้งช่วยสานเจตนารมณ์ของทางโรงเรียน ต่อไป นอกจากนี้ ทางโรงเรียนยังได้ทำการ เปลี่ยนแปลงหลังคา อาคารเรียน สร้างห้องวิทยาศาสตร์ ห้องวีดีโอ และ สร้างห้องน้ำสำหรับนักเรียนเพิ่มขึ้นโรงเรียนได้ทำการปรับปรุง ตลอดมา ในทุกๆด้าน ทั้งด้าน วิชาการและการเรียนการสอนต่างๆ จนได้รับพระราชทานโรงเรียนดีเด่นมัธยมขนาดเล็ก ประจำปีการ ศึกษา 2533 จากพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในปีการศึกษา 2536 คุณแม่บุญประจักษ์ ทรรทรานนท์ ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียน ได้ทำการโอนกิจการโรงเรียน ให้กับมูลนิธิคณะอุร์สุลินเพื่อการศึกษา แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2536 โดยมีซิสเตอร์ พวงเพชร ฮวดศิริ เป็นผู้ลงนามตาม หนังสือให้โอนโรงเรียนที่ ชม . 003/2536 ลงวันที่ 20 กันยายน 2536 และเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม2537 มีการเซ็นสัญญาการก่อสร้างระหว่าง บริษัทไททรีโอ จำกัด กับคุณวรวุทธ์ คุตติวรัญญู และโรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัยโดย ซิสเตอร์มอรีส บอยเยอร์ อธิการิณี ซิสเตอร์ พวงเพชร ฮวดศิริ ผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการ อาจารย์นจุลทัศน์ กิติบุตรสถาปนิก เพื่อก่อสร้างอาคารเรียน เรยีนาฯ 60 ปี โดยใช้ชื่ออาคารนี้ว่า "Serviam" เมื่ออาคารนี้แล้วเสร็จในปี 2539 ได้ใช้เป็นอาคารเรียนสำหรับนักเรียนมัธยมปีที่ 1 - 3 ในปีพุทธศักราช 2540 โรงเรียนได้เปิดสอนนักเรียนระดับมัธยมปลายขึ้นอีกครั้งเป็นปีแรก โดยเริ่มที่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จัดแบ่งเป็น 3 แผนการเรียน ได้แก่ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ 1 ห้อง แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์ 1 ห้อง และแผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาฝรั่งเศส 1 ห้อง มีจำนวนนักเรียน 109 คน ในปีนี้โรงเรียนได้เข้าแข่งขันโรงเรียนพระราชทานระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ขนาดกลาง) โดยผ่านการคัดเลือกในระดับอำเภอ และระดับจังหวัด อีกทั้งยังได้รับรางวัลนักเรียนพระราชทานระดับมัธยมศึกษาตอนต้นด้วย ได้แก่ เด็กหญิงนภัส จิวะกิดาการ ในปีการศึกษา 2541 กระทรวงศึกษาธิการได้ออกร่างพระราชบัญญัติการศึกษา และกำหนดให้โรงเรียนต้องมีการประกันคุณภาพการศึกษา ระยะเวลา 3 ปี 5 ปี โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย ได้ผ่านเกณฑ์การประเมินเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2541 โรงเรียนได้รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณรางวัลชนะเลิศยอดเยี่ยมด้านจริยธรรม คุณธรรมประจำปีการศึกษา 2541 ปี 2543 โรงเรียนได้วางศิลาฤกษ์อาคารเรียนมัธยมหลังใหม่ อาคารอินเซียเมร์ "Insieme" เพื่อรองรับจำนวนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีจำนวนมากขึ้น และทางโรงเรียนได้มีการปรับแผนการเรียนใหม่ เพิ่มจากเดิมอีก 3 ห้อง รวมเป็น 6 ห้อง ได้แก่ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ 2 ห้อง แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์ 1 ห้อง และแผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาฝรั่งเศส 1 ห้อง แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาญี่ปุ่น 1 ห้อง และแผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาจีน 1 ห้อง โรงเรียนได้มีการพัฒนาในเชิงรุก และในปีนี้โรงเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ของเขตการศึกษา 8 ในโครงการประเมินโรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาจิตพิสัยในระบบการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษา ปี 2544 โรงเรียนได้มีการเปลียนแปลงคณะบริหารใหม่ โดยมีซิสเตอร์รวงกาญจนา ชินะผา ดำรงตำแหน่งผู้รับใบอนุญาต และอธิการิณีบ้านเรยีนาฯ ซิสเตอร์ทีโอดอร์ ฮาเนนเฟล์ด ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอธิการิณีบ้านเรยีนาฯ ซิสเตอร์ศิริลักษณ์ สุวภาพ ดำรงตำแหน่งผู้จัดการโรงเรียน คุณครูอัมภาพร จันทร์กระจ่าง ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ในปีนี้โรงเรียนได้เข้าร่วมเป็นโรงเรียนเครือข่ายนำร่องการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 โดยเรยีนาฯ เป็นโรงเรียน 1 ใน 5 โรงเรียนของเชียงใหม่ที่เข้าร่วม โดยโรงเรียนต้องจัดทำหลักสูตรเอง และเริ่มใช้ในชั้น ป.1 ป.4 ม.1 และ ม.4 และในปีนี้โรงเรียนยังได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทานระดับมัธยมขนาดกลาง และรางวัลนักเรียนพระราชทานระดับมัธยมศึกษาตอนต้น คือ เด็กหญิงวีรยา โตแสงชัย